วันเสาร์ที่ 30 กรกฎาคม พ.ศ. 2565
วันศุกร์ที่ 29 กรกฎาคม พ.ศ. 2565
บาดแผล (ทวนมุมมองของคนรักกัน)
บาดแผล (ทวนมุมมองของคนรักกัน)
คำแต้มของ ธีรยุทธ บุษบงค์
(ตีพิมพ์ครั้งแรกใน กรุงเทพธุรกิจ-จุดประกายวรรณกรรม ๒๕๔๕)
เส้นลวดขึงไว้ตากผ้า
หายเข้าไปในเนื้อมะม่วงวัยสาว
อย่างจำนน
กลายเป็นส่วนหนึ่งของกันและกัน
ฝ่ายหนึ่งเคยโอบกอดรัด
ฝ่ายหนึ่งคอยฮึดฮัดคร่ำครวญ
ล่วงมาหลายปี
ฝ่ายหนึ่งกลับครอบงำ
ฝ่ายแรกจำทนอยู่อย่างหมดทางดิ้นรน
ผู้สร้างบาดแผลกลับได้บาดแผลเสียเอง
รอพายุฤดูร้อนแยกทั้งสองออกจากกัน
การพลัดพรากรอฝากแผลใหม่เป็นกำนัลฯ
วันพฤหัสบดีที่ 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2565
วันพุธที่ 27 กรกฎาคม พ.ศ. 2565
กลิ่นที่ไม่เคยเป็นอื่น
เธอรู้ตัวบ้างไหม
มันไม่เคยจางหายไปจากชีวิต
ข้างในนั้น
กลิ่นสายน้ำห้วยครกที่เอื่อยไหลลงสู่ลำแม่มูล
ติดตัวเธอไป
ในรถโดยสารสู่เมืองใหญ่
ในรถไฟสู่กรุงลุ่มลำเจ้าพระยา
กลิ่นหญ้าฟางข้างเถียงนาใต้ร่มหว้าชรา
ติดตัวเธอไป
ในตึกเรียนปริญญา
ในห้างสรรพสินค้า ร้านมิยอมหลับ
กลิ่นดอกไม้หอมของทุ่งรักหลังฤดูเก็บเกี่ยว
จะยังติดตัวเธอไป
ในห้องแอร์สำนักงาน
ในห้องคาราโอเกะ คลับบาร์
ตัวเลขอายุเพิ่มสู่หลักสองหลักซาว
เธออาจลืมไปว่ามันยังคงอยู่
กลิ่นผ้าไหมแม่ที่เพิ่งตัดจากหูกทอใหม่ใหม่
กลิ่นจอบเปื้อนเหงื่อพ่อที่เพิ่งว่างจากมือดำด้าน
กลิ่นแกงปลาช่อนหนองไผ่ใส่ดอกและหัวหอม
กลิ่นผักกะแยง มดแดงเปรี้ยว
กลิ่นปลาร้า
ส้มตำ เมี่ยงลำข่า
.............................
.............................
โอ...กลิ่นพี่น้องเชื้อแถว
กลิ่นที่ไม่เคยเป็นอื่น
จะยังติดตัวเธอไป
ไม่มีวันจางหาย.
วันอังคารที่ 26 กรกฎาคม พ.ศ. 2565
นักรบไก่หญ้า
นักรบไก่หญ้า
คำแต้มของ ธีรยุทธ บุษบงค์
(ตีพิมพ์ครั้งแรกใน ลมผลัดขน คนลอกคราบ ๒๕๕๗)
กลางนาผ่องข้าวพราวรวง
พิศภาพพี่น้องอิ่มทรวง ไฟฝันโชติช่วง
ส่องทางพร่างพื้นตื่นพร้อม
หญ้าแพรกแปลกปลายปมป้อม เสาะสรรดีพร้อม
ชักชวนเล่นตีไก่หญ้า
ท่ามทุ่งสีทองทาบทา แผ่นดินปู่ตา
พื้นบ้านย่ายายลำเนา
เปลี่ยนตีเปลี่ยนตี ใหม่-เก่า เปลี่ยนโลกใบเหงา
เป็นโลกดอกฝันเพิ่มพูน
บานหอมไม่ยอมเสื่อมสูญ บริสุทธิ์บริบูรณ์
บ่มเพาะหน่อพันธุ์บำเพ็ญ
แลกเปลี่ยนเรียนรู้อยู่เย็น หมดมือค่อยเฟ้น
ที่แกล้วยืนหยัดประลอง
ที่แพ้แน่แน่วแคล่วคล่อง ค้นหาสำรอง
หวังกลับแก้มือประชัน
รื่นร่มไม้นาบ่ายนั้น เมื่อยล้าโรมรัน
สองน้อยพี่น้องหลับพริ้ม
กอดทหารไก่หญ้าอมยิ้ม ฉายแววเอมอิ่ม
ฟ่อนฟางต่างหมอนช้อนฝัน.
ใบซ่อนดอก
ใบซ่อนดอก
คำแต้มของ ธีรยุทธ บุษบงค์
(ตีพิมพ์ครั้งแรกใน สยามรัฐสัปดาหวิจารณ์ ๒๕๔๕)
ใบไม้เหมือนเสื้อผ้า
ปิดซ่อนบางสิ่ง
เปิดเผยบางส่วน
ดอกไม้แต่งต้นสง่า
ซุกใต้ใบไม้
ปรุงกลิ่นหอมพื้นถิ่น
ถนอมนวลกลีบงามแห่งเผ่าพันธุ์
ลมพัดอ่อนโยน
ใบไม้พลิกไหว
ดอกไม้หลบหน้า
เขินอาย
ดวงตะวันฤดูหนาว
ส่องแสงทาบทา
ทั่วท้องทุ่งตะวันออกเฉียงเหนือ
วันใหม่ของโลกเก่า
มอบความอบอุ่นแผ่เผื่อ
ลมพัดกระหายหิว
ฉีกตัดใบไม้ ปลิดปลิว
แสงเช้าถูกเมฆหมอกกักกั้น
วันเก่าของโลกใหม่
ดอกไม้ไร้ที่ซุก.
วันจันทร์ที่ 25 กรกฎาคม พ.ศ. 2565
เคราะห์รักพันปี
วันอาทิตย์ที่ 24 กรกฎาคม พ.ศ. 2565
โทษตนเองดีแน่ แต่อย่าถึงขั้นโกรธโมโหให้ตน ถนอมน้ำใจตนไว้ดีกว่า
โทษตนเองดีแน่ แต่อย่าถึงขั้นโกรธโมโหให้ตน ถนอมน้ำใจตนไว้ดีกว่า
เรื่อง : บุนทอน ดอนโขงภาพประกอบ : Baawthi
ทุกข์สุดท้าย ยังมีความตายรออยู่
ทุกข์สุดท้าย ยังมีความตายรออยู่
27 ปี กับชีวิตคล้ายหุ่นไล่กา
27 ปี กับ แต่ละขวบปี หรือ ครบรอบปี รอบนี้ จริง ๆ คิดอะไรอยู่
ยามยอมย้ายที่ ยามนี้ไม่มีใครหลีกเว้น
วันเสาร์ที่ 23 กรกฎาคม พ.ศ. 2565
ที่สูงส่งบรรจงใจ
วันศุกร์ที่ 22 กรกฎาคม พ.ศ. 2565
สัมผัสอิ่มซึ้งซ่าน
วันพฤหัสบดีที่ 21 กรกฎาคม พ.ศ. 2565
ลมฝนฝอยลอยล่วงผ่าน |บทกวีของ ทางหอม|
วันอังคารที่ 19 กรกฎาคม พ.ศ. 2565
เสื้อ ยาสูบ ด้วยความรักบวกเข้าใจ
วันจันทร์ที่ 18 กรกฎาคม พ.ศ. 2565
แค่คิดก็คุ้ม
วันอาทิตย์ที่ 17 กรกฎาคม พ.ศ. 2565
ฟ้าหม่น
วันศุกร์ที่ 15 กรกฎาคม พ.ศ. 2565
นิยายอักษรทิพย์
วันอาทิตย์ที่ 10 กรกฎาคม พ.ศ. 2565
ทางเรื่องสั้นฉบับคีต์ คิมหันต์
ธีรยุทธ บุษบงค์
๑. คิดเรื่อง : เลือกใดหนามาคิดเขียนเรื่องสั้น
๑.๑. เลือกตัดทอนท่อนชีวิตที่ผูกพัน
๑.๒. เลือกเก็บเกร็ดชีวารอบๆ ตัวที่ประทับใจ
๑.๓ เลือกหยิบแว้บความคิดที่เกิดขณะอ่านเรื่องของคนอื่น
๒. สร้างอารมณ์ : กระตุ้นอารมณ์ตนวิธีใดให้อยากเขียนเรื่องสั้นสักเรื่อง
๒.๑ อ่านเรื่องสั้นของนักเขียนเอก
๒.๒ ดูหนัง ฟังเพลง
๒.๓ ตั้งใจฟังเรื่องเล่าของคนอื่น
๒.๔ เดินทาง ท่องเที่ยว
๒.๕ ท่องไอจี มีความรัก
๒.๖ อ่านเฟช อ่านข่าว
๒.๗ เขียนบทกวีเพื่อนำมาขยายเป็นเรื่องสั้น
๓. ลงมือเขียน : เริ่มเขียนเรื่องสั้นเมื่อใดดี
๓.๒ อยากเล่าส่วนใดของเรื่องก่อนก็เล่าเลย ค่อยนำมาจัดลำดับทีหลัง
๓.๓ เขียนทิ้งไว้สักเวลาหนึ่ง
๓.๔ เมื่อคิดถึงมันค่อยหยิบมาอ่านทบทวนความคิดอ่าน
๓.๕ ค่อยๆ แก้ไข/พัฒนา/ขัดเกลาภาษา/ตัดต่อ/แต่งเติม/ปรับปรุง/เปลี่ยนแปลงให้เรื่องราวตรงกับใจเรามากที่สุด
๔. จัดทำต้นฉบับ : จะจัดทำต้นฉบับสำหรับเผยแพร่เรื่องสั้นสักเรื่องอย่างไร
๔.๑ พิมพ์เรื่องสั้นที่เขียนจบแล้วมาอ่านอีกรอบและหาข้อบกพร่อง
๔.๒ พิมพ์ส่งให้ผู้รู้ช่วยอ่านเพื่อขอรับคำแนะนำ
๔.๓ นำข้อบกพร่องและคำแนะนำมาพิจารณาว่าจะแก้ไขอย่างไรให้เรื่องสั้นเราดีที่สุด
๔.๔ แก้ไขเรื่องสั้นให้สมบูรณ์โดยพิจารณาองค์ประกอบต่างๆให้เหมาะสมกลมกลืนกัน
๔.๕ พิสูจน์อักษร สำนวน ประโยค วรรคตอน ย่อหน้า สัญลักษณ์การลำดับเรื่องให้ถูกต้องตามราชบัณฑิตยสถานและตามเจตนาสื่อสาร
๔.๖ จัดพิมพ์เรื่องสั้น ใช้ฟร้อนต์มาตรฐาน ขนาดพอยท์ 16 ตั้งแต่ชื่อเรื่อง ชื่อผู้แต่ง ตัวเรื่อง รายละเอียดเกี่ยวกับผู้แต่ง (ชื่อ-สกุลจริง ที่อยู่ทางไปรษณีย์ อีเมล์ เบอร์โทรศัพท์ที่ติดต่อกลับได้ (และเลขบัญชีธนาคารที่สามารถโอนเงินเข้าได้ ในกรณีชนะการประกวดหรือผ่านการพิจารณาตีพิมพ์))
๔.๗ พิจารณาส่งผลงานไปเผยแพร่ในสนาม/เวที/สำนักพิมพ์ ที่มีแนวคิดการคัดสรรเรื่องสั้นสอดคล้องเหมาะสมกับเรื่องสั้นของเรา.
———————————————
แนะนำเพจในเฟชบุ๊ค : ชายคาเรื่องสั้น
ทางหอมบุ๊คเฮ้าส์
ร้านหนังสือฟิลาเดลเฟีย
“ความสุขทุกนาทีที่ได้คิดเขียน คือ ยอดรางวัลของนักประพันธ์”
คุยกันก่อนอ่านเขียนเรื่องสั้น
ก. คำสำคัญที่ควรรู้เกี่ยวกับงานเขียน
๐. องค์ประกอบพื้นฐานของงานเขียน ได้แก่ รูปแบบ เนื้อหา และภาษา
รูปแบบ หมายถึง ลักษณะองค์รวมของงานเขียนที่ถูกกำหนด
ขึ้นและนักเขียนต่างยอมรับกัน
เนื้อหา หมายถึง เรื่องราว-สาระ-แนวคิดที่นักเขียนนำเสนอไว้
ภาษา หมายถึง ถ้อยคำ สำนวน โวหาร ที่นักเขียนใช้ประกอบสร้างรูปแบบและแสดงเนื้อหา
๑. วรรณคดี และวรรณกรรม
วรรณคดี หมายถึง งานเขียนที่ดีเยี่ยมทั้งรูปแบบ เนื้อหา และภาษา (ไทย = เรื่องเก่า รูปแบบร้อยกรอง เนื้อหาตามอินเดีย-ตำนาน ภาษาดี / เทศ = เรื่องร่วมสมัย รูปแบบร้อยแก้ว เนื้อหามนุษย์ร่วมสมัย ภาษาดี)
วรรณกรรม หมายถึง ๑ งานเขียนทุกชนิด ทุกประเภท รวมถึงงานวิชาการด้วย ๒ งานเขียนประเภทเรื่องแต่งที่ดีทั้งรูปแบบ เนื้อหา และภาษา
๒. ร้อยกรอง และร้อยแก้ว
ร้อยกรอง หมายถึง งานเขียนที่กำหนดรูปแบบตายตัว มีคณะและสัมผัสบังคับชัดเจน
ร้อยแก้ว หมายถึง งานเขียนที่ใช้ถ้อยคำเหมือนภาษาพูดทั่วไป
๓. วรรณกรรมเยาวชน นิยาย และนวนิยาย
วรรณกรรมเยาวชน หมายถึง งานเขียนที่แต่งขึ้นสำหรับให้เยาวชนอ่าน ส่วนมากจะเป็นเรื่องยาวร้อยแก้ว
นิยาย หมายถึง เรื่องแต่งขนาดยาวประเภทบันเทิงคดีร้อยแก้ว ที่มีแนวคิด เนื้อหาซ้ำๆ ที่ไม่สมจริงมากนัก แสดงผ่านมุมมอง กลวิธีการเขียน และสำนวนภาษาซ้ำๆ ค่อนไปทางเยิ่นเย้อ ไม่สละสลวยนัก
นวนิยาย หมายถึง เรื่องแต่งขนาดยาวประเภทบันเทิงคดีร้อยแก้ว ที่มีแนวคิดสร้างสรรค์ เนื้อหาอาจแปลกใหม่แต่สมจริงด้วยสัมพันธบทขององค์ประกอบของเรื่อง แสดงผ่านมุมมอง กลวิธีการเขียน และสำนวนภาษาที่สร้างสรรค์
๔. สารคดี และบันเทิงคดี
สารคดี หมายถึง งานเขียนที่นำเสนอเรื่องจริงที่เกิดขึ้นกับผู้แต่ง หรือเรื่องที่ผู้แต่งมีประสบการณ์ร่วม นำเสนอผ่านรูปแบบเรื่องเล่า ด้วยภาษาที่เข้าใจง่าย
บันเทิงคดี หมายถึง งานเขียนที่ผู้เขียนคิดแต่งขึ้นจากจินตนาการ และความคิดอ่านสร้างสรรค์ เพื่อให้ผู้อ่านได้รับความบันเทิงและซาบซึ้งในความงามของความคิดและภาษาไปพร้อมกัน อาจใช้รูปแบบวรรณกรรมเยาวชน นวนิยาย เรื่องสั้น บทละคร หรือกวีนิพนธ์ ก็ได้
๕. เรื่องเล่า และเรื่องแต่ง
เรื่องเล่า หมายถึง งานเขียนที่เขียนขึ้นจากเรื่องราวที่เกิดขึ้นจริงในชีวิต
เรื่องแต่ง หมายถึง งานเขียนที่คิดเขียนขึ้นจากจินตนาการ หรือดัดแปลงจากเรื่องจริง
๖. นิทาน และเรื่องสั้น
นิทาน หมายถึง เรื่องแต่งขนาดสั้นที่เน้นให้คติสอนใจ อาจเหมือนหรือเหนือจริงก็ได้
เรื่องสั้น หมายถึง เรื่องแต่งที่เน้นแนวคิดสำคัญ (แก่นเรื่อง) เดียว ใช้องค์ประกอบของบันเทิงคดีร้อยแก้ว มีตัวละคร ๑-๕ ตัว ความยาวที่สามารถอ่านจบภายใน ๕ นาที ถึง ๑ ชั่วโมง (ใช้เกณฑ์คนอ่านหนังสือเร็วปกติ) สำนวนภาษาซ้ำๆ ค่อนไปทางเยิ่นเย้อ ไม่สละสลวยนัก
นวนิยาย หมายถึง เรื่องแต่งขนาดยาวประเภทบันเทิงคดีร้อยแก้ว ที่มีแนวคิดสร้างสรรค์ เนื้อหาอาจแปลกใหม่แต่สมจริงด้วยสัมพันธบทขององค์ประกอบของเรื่อง แสดงผ่านมุมมอง กลวิธีการเขียน และสำนวนภาษาที่สร้างสรรค์
๔. สารคดี และบันเทิงคดี
สารคดี หมายถึง งานเขียนที่นำเสนอเรื่องจริงที่เกิดขึ้นกับผู้แต่ง หรือเรื่องที่ผู้แต่งมีประสบการณ์ร่วม นำเสนอผ่านรูปแบบเรื่องเล่า ด้วยภาษาที่เข้าใจง่าย
บันเทิงคดี หมายถึง งานเขียนที่ผู้เขียนคิดแต่งขึ้นจากจินตนาการ และความคิดอ่านสร้างสรรค์ เพื่อให้ผู้อ่านได้รับความบันเทิงและซาบซึ้งในความงามของความคิดและภาษาไปพร้อมกัน อาจใช้รูปแบบวรรณกรรมเยาวชน นวนิยาย เรื่องสั้น บทละคร หรือกวีนิพนธ์ ก็ได้
๕. เรื่องเล่า และเรื่องแต่ง
เรื่องเล่า หมายถึง งานเขียนที่เขียนขึ้นจากเรื่องราวที่เกิดขึ้นจริงในชีวิต
เรื่องแต่ง หมายถึง งานเขียนที่คิดเขียนขึ้นจากจินตนาการ หรือดัดแปลงจากเรื่องจริง
๖. นิทาน และเรื่องสั้น
นิทาน หมายถึง เรื่องแต่งขนาดสั้นที่เน้นให้คติสอนใจ อาจเหมือนหรือเหนือจริงก็ได้
เรื่องสั้น หมายถึง เรื่องแต่งที่เน้นแนวคิดสำคัญ (แก่นเรื่อง) เดียว ใช้องค์ประกอบของบันเทิงคดีร้อยแก้ว มีตัวละคร ๑-๕ ตัว ความยาวที่สามารถอ่านจบภายใน ๕ นาที ถึง ๑ ชั่วโมง (ใช้เกณฑ์คนอ่านหนังสือเร็วปกติ)
๑. ชื่อเรื่อง คือ คำ/วลี/ข้อความ ที่ใช้เรียกแทนตัวบทงานเขียนนั้นๆ
๒. แก่นเรื่อง คือ แนวคิดสำคัญของเรื่องที่ผู้เขียนซ่อนไว้และนักอ่านสังเคราะห์ได้
๓. โครงเรื่อง คือ กรอบหรือวงจรของเรื่องราว
๔. ตัวละคร คือ ผู้แสดงในเรื่องราวนั้นๆ
๕. บทสนทนา คือ คำพูดคุยของตัวละคร
๖. ฉาก คือ ส่วนที่สร้างบรรยายให้เรื่องราว ประกอบด้วย สถานที่ วันเวลา สภาพแวดล้อม สถานการณ์ ฯ
๗. กลวิธีการเล่าเรื่อง
๗.๑ มุมมอง (ผู้เล่าเรื่อง) และน้ำเสียง
๑) มุมมอง
(๑) มุมมองจากสายตาพระเจ้า/นก
มุมมองจากสายตาผู้อยู่เบื้องบนที่รู้เห็นเรื่องราวทั้งหมด ไม่ใช้สรรพนามแทนผู้เล่าเรื่อง และใช้สรรพนามบุรุษที่ ๓ แทนตัวละคร
(๒) มุมมองจากสายตาคน
(๒.๑) มุมมองจากสายตาผู้สังเกตการณ์ ไม่มีส่วนร่วมในเรื่อง อาจไม่ใช้สรรพนามแทนผู้เล่าเรื่อง หรือใช้สรรพนามบุรุษที่ ๑ แทน ผู้เล่าเรื่อง เช่น ผม ฉัน ข้าพเจ้า… และใช้สรรพนามบุรุษที่ ๓ แทนตัวละคร
(๒.๒) มุมมองจากสายตาตัวละครเอก ใช้สรรพนามบุรุษที่ ๑ แทนผู้เล่าเรื่อง เช่น ผม ฉัน ข้าพเจ้า… และใช้สรรพนามบุรุษที่ ๓ แทนตัวละครอื่น
(๒.๓) มุมมองจากสายตาตัวละครรองหรือตัวละครประกอบ ใช้สรรพนามบุรุษที่ ๑ แทนผู้เล่าเรื่อง เช่น ผม ฉัน ข้าพเจ้า… และใช้สรรพนามบุรุษที่ ๓ แทนตัวละครอื่น
๒) น้ำเสียง หมายถึง แนวโน้มของความรู้สึกจากมุมมองของผู้เล่าเรื่องต่อเรื่องที่เล่า ว่าเรื่องเป็นไปอย่างไร อาจมีน้ำเสียงเป็นบวกเชิงชื่นชม ยกย่อง ยินดี สนับสนุน ฯ หรือมีน้ำเสียง เป็นลบเชิงซ้ำเติม เยาะเย้ย ถากถาง เสียดสี เสียดเย้ย ฯ หรือมีน้ำเสียงเป็นกลางๆ
๗.๒ การลำดับเรื่อง
๑) ลำดับเรื่องตามปฏิทิน
๒) ลำดับเรื่องแบบย้อนกลับ
๓) ลำดับเรื่องแบบสลับไปมา
๗.๓ การเปิด-ปิดเรื่อง
ใช้องค์ประกอบใดองค์ประกอบหนึ่งเปิด-ปิดเรื่อง เช่น บรรยายตัวละคร บรรยายฉาก บรรยายแก่นเรื่อง หรือ ใช้บทสนทนา …
ค. คุณสมบัติของคนเขียนเรื่องสั้น
คุณสมบัติ ๔ มี ที่คนต้องการจะเขียนเรื่องสั้นพึงแสวงหาและควรรักษาไว้
มีเรื่องสั้น เคยอ่าน ผ่านทางคิด
มีชีวิต ลิขิตปอง ครรลองขวัญ
มีใจเพียร เขียนจบ องค์ครบครัน
มีมิตรแนะ แก้กลั่น บรรณาธิการ
วันพฤหัสบดีที่ 7 กรกฎาคม พ.ศ. 2565
ซ่านทรวงใน
วันพุธที่ 6 กรกฎาคม พ.ศ. 2565
สายลมเดือนเจ็ด
วันอาทิตย์ที่ 3 กรกฎาคม พ.ศ. 2565
ผลัดใบคน ผลัดใบครู • ต้นไม้ชีวิต 1
ที่สุดของรัก
คลิก ฟังเพลงกันครับ ที่สุดของรัก คือเห็นความงาม เป็นความจริงล้ำค่า ที่สุดของเข้าใจ คือแสงเช้าสาดต้องยอดยางนาต้นใหม่ เป็นความปรารถนาผ่องพริ้...
-
ซวงใจแท้นอ ฝนมาห่าใหญ่ หญ้าไม้ดีใจ เขียวก่องขึ้นทันตา แปลกแต่จริง เรารดน้ำหญ้า รดน้ำต้นไม้ทุกวัน น้ำจากดิน น้ำจากท่อต่อจากเครื่องสูบ รดแล...
-
เช้าล้างหน้า ความเก่าหลังก็พลันตื่น ความใหม่หน้าก็แวะมาทักทาย สายล้างหน้า ความเร่งรัดระรื่นเย้ยกดข่ม ความกระวนกระวายระรื่นโขกสำทับ เที่ยงล้า...
-
คลิก ฟังเพลงกันครับ ที่สุดของรัก คือเห็นความงาม เป็นความจริงล้ำค่า ที่สุดของเข้าใจ คือแสงเช้าสาดต้องยอดยางนาต้นใหม่ เป็นความปรารถนาผ่องพริ้...