วันเสาร์ที่ 30 กรกฎาคม พ.ศ. 2565

ดูลมหายใจให้ดี ๆ


ดูลมหายใจให้ดี ๆ
คำเว่าว่าโดย บาวทิ ยางชุมน้อย


การใช้ชีวิตเพื่อเอาตัวรอดประจำวันที่บ้าน ที่ทำงาน หรือที่ใดก็ตาม เราจำเป็นต้องสำรวจตรวจสอบความพร้อมของร่างกาย ชุดเครื่องแต่งกาย ข้าวของ อุปกรณ์เครื่องใช้ เงินทอง รวมถึงเพื่อนร่วมเดินทาง เพื่อร่วมงาน นั่นอาจทำให้เราลืมสำรวจตรวจสอบจิตใจตนเอง

    จิตใจของเราเป็นอย่างไร สุขภาพดีไหม มีปัญหาอะไรบ้าง ต้องฟื้นฟูปรับแก้เช่นไร จึงจะเหมาะสมแก่กาล จำเป็นต้องมีเครื่อมือสำรวจตรวจสอบที่ดี ที่เรามั่นใจ และจะดีที่สุดคือทำได้ง่าย ๆ ไม่ต้องเสียงเวลา เสียเงินทองโดยไม่จำเป็น

    ในที่นี้ ขอเสนอวิธีการง่าย ๆ เครื่องมือธรรมดา ๆ อย่าง ศิษย์ตถาคต นั่นคือ การสำรวจตรวจดูลมหายใจของตน

    แต่ก่อนจะคุยกันว่าวิธีการและเครื่องมือนั้นต้องทำอย่างไรกัน เรามาคุญกันเกี่ยวกับการเขียนอ่านอักษรธรรมกันก่อน




    เช่นเคย ขอใช้อักษรอังกฤษในแบบภาษาคาราโอเกะแทนอักษรธรรม เพื่ออธิบายการสะกดคำ ดังนี้
(โปรดดูภาพประกอบ)

BERNG อาจเขียนอักษรไทยเป็น เบิ่ง เขียนอักษรธรรมได้โดย ไม้เก - บ - ไม้กิ - ง(เฟื้อง-ห้อย)
                ในที่นี้หมายถึง การเฝ้ามอง การพิจารณา การสำรวจตรวจสอบ
LOM      อาจเขียนอักษรไทยเป็น ลม เขียนอักษรธรรมได้โดย ล - ไม้ก่ม(บนตัว ล) - ม(เฟื้อง-ห้อย)
                
ในที่นี้หมายถึง กระแสอากาศที่ไหลเวียนพัดไปมา
HUN      อาจเขียนอักษรไทยเป็น หัน เขียนอักษรธรรมได้โดย ห - ไม้ซัด - น(เฟื้อง-ห้อย)
                
ในที่นี้หมายถึง หาย การสูดรับอากาศและระบายออกมาทางจมูก
JAI       อาจเขียนอักษรไทยเป็น ใจ เขียนอักษรธรรมได้โดย ไม้ไก - จ
                
ในที่นี้หมายถึง ใจ จิตใจ
HAI      อาจเขียนอักษรไทยเป็น เบิ่ง เขียนอักษรธรรมได้โดย ไม้เก - บ - ไม้กิ - ง(เฟื้อง-ห้อย)
                
ในที่นี้หมายถึง การเฝ้ามอง การพิจารณา การสำรวจตรวจสอบ
DEE      อาจเขียนอักษรไทยเป็น ดี เขียนอักษรธรรมได้โดย ด - ไม้กี
                
ในที่นี้หมายถึง สิ่งที่มีคุณค่า มีประโยชน์ต่อตนและคนอื่นๆ
DEE      ดี ตัวที่สอง ใช้ไม้สองหน่ำ หรือเลข 2 ตัวธรรม จะเหมือนกับไม้ยมกในอักษรไทย ใช้เขียนเพื่อ
                อ่านคำหน้าซ้่ำอีกครั้ง

    เป็นอย่างไรบ้างครับ การสะกดคำแบบอักษรธรรม ไม่ยากอย่างที่คิดใช่ไหมครับ คนไทยคนลาวน่าจะเขียน(พิมพ์)อ่านได้ไม่ยาก
    กลับมาที่เนื้อหา การสำรวจตรวจดูลมหายใจของตน กัน
เครื่องมือในการนี้มี ลมหายใจ สมาธิ และสติ เป็นเครื่องมือภายใน ที่ทุกคนมีอยู่แล้วตามธรรมชาติ
ส่วนวิธีการสำรวจตรวจสอบลมหายใจให้ดี ๆ ก็คือ
    1.ใช้สมาธิจดจ่อที่ลมหายใจของตนเอง อาจใช้วิธีตามลมเข้าไป ตามลมออกมา หรือใช้วิธีเพ่งแค่ตรงปลายจมูกก็ได้
    2.พร้อมกันนี้ก็ให้ใช้สติเพ่งรู้อยู่ตลอดเวลา ลมหายใจเข้าก็รู้ ออกก็รู้ ลมหายใจสั้นก็รู้ ยาวก็รู้ ลมหายใจร้อนรู้ ลมเย็นก็รู้ ลมหายใจราบเรียบสม่ำเสมอก็รู้ สั่นไหวติดขัดขาดเป็นห้วงเป็นตอนก็รู้ เป็นการกำหนดรู้อยู่ที่ลมหายใจอย่างเดียว รู้แค่ในขณะปัจจุบันเท่านั้น ปิดอดีต ปิดอนาคต ไม่สนใจความคิด
    ขณะสำรวจตรวจสอบดูลมหายใจ จะหลับตา หรือลืมตา ก็ตามแต่สะดวก

    นั่นคือเครื่องมือและวิธีการที่บอกเป็นกลาง ๆ
    ทีนี้บางคนว่า จะทำในท่าทางอย่างไร ต้องนั่งในท่าขัดสมาธิไหม ต้องเดิน ยืนหรือเปล่า และจะฝึกเวลาใดจึงจะเหมาะจะควร
    คำถามนี้ ขอตอบเป็น 2 แบบคือ

    แบบ 1 ขอเรียกชื่อว่า การสำรวจตรวจสอบดูลมหายใจแบบจริงจัง แบบนี้ควรใช้เวลาก่อนนอน หรือตื่นนอนใหม่ๆ หรือเวลาที่กำหนดสำหรับการฝึกสมาธิโดยเฉพาะ แบบนี้ให้ฝึกในท่านั่งสมาธิ คือฝึกทำสมาธิโดยใช้วิธีสำรวจตรวจสอบดูลมหายใจจริง ๆ จัง ๆ กันเลย ซึ่งอาจง่ายอาจเหมาะสำหรับบางคนที่สนใจฝึกสมาธิอยู่แล้ว แต่อาจยากสำหรับคนที่ไม่ถนัด ไม่ชอบ ไม่คุ้นเคย
อ้าว! คนไม่มีเวลา ไม่อยากทำแบบจริงจังนี้ล่ะ จะทำได้ไหม งั้นมาดูแบบที่สองกัน เผื่อเป็นทางเลือก

    แบบ 2 ขอเรียกชื่อว่า การสำรวจตรวจสอบดูลมหายใจแบบแก้ปัญหาเฉพาะหน้า แบบนี้ทำได้ทุกเมื่อที่เราโกรธ เราเกลียดสิ่งใดๆ เราข้องขัดในอารมณ์ เราเครียดเราหม่นหมอง เศร้าซึม เราเกิดปัญหาที่คิดไม่ออก หาทางแก้ไม่ได้ เมื่อเราประสบปัญหาต่าง ๆ ที่กล่าวมา ขอให้เราตั้งสติสักนิด หลับตาลงก็ได้ อาจปลีกตัวไปในห้อง ในมุมสงบ หรือหากปลีกไปไม่ได้ ก็ฝึกทำสำรวจตรวจสอบดูลมหายใจในที่นั้นๆ เลย แบบนี้ผมชอบใช้ ดูที่บริเวณปลายจมูกนั่นแหละ เช่นเรากำลังโกรธจัด ตั้งสติดูลมหายใจเข้าไป ดูมันเข้ามันออกจะรู้ว่ามันเข้าออกสั้น ห้วน ไม่เป็นจังหวะ ดูมัน รู้จักมัน แล้วค่อย ๆ ปรับสูดลมหายใจเข้ายาว ๆ ออกยาว ๆ ให้สม่ำเสมอ อาจนับรอบเข้า-ออก หนึ่ง สอง สาม สี่ ห้า...จนถึงสิบ หรือจนเราพอใจ จนเราหายโกรธ หายจากอารมณ์ร้ายๆ เหล่านั้น หรือเมื่อเรารู้สึกผ่อนคลาย อารมณ์กลับมาเป็นปกติแล้วก็ค่อยเลิกทำ แบบนี้มีประโยชน์และไม่เสียเวลามาก และไม่ยุ่งยาก ไม่เปลืองเวลาสถานที่ ไม่รบกวนใคร เราทำฝึกการข้างใน ไม่มีใครเห็นใครรู้ แม้คนที่อยู่ตรงหน้าเรา

    ครับ ที่เล่ามา ในนามกัลยาณมิตร เล่าแบบที่ตนเคยรู้ เคยฝึกมาบ้าง อาจไม่ต้องตำราครูอาจารย์ท่านใด หรือต้องตรงพระไตรปิฎกเป๊ะ ๆ ก็อย่าว่ากันเน้อ

พบกันใหม่ใน อักษรส่องใจ ครั้งหน้า คิดได้ไปเป็น ๆ ครับ.










ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

บทเพลง คึดได้ไปเป็น l บ่าวทิ ยางชุมน้อย

ว่าด้วยที่มาของบทเพลง "คึดได้ไปเป็น" •เกิดมาน้อยเท่าใหญ่ ฟังเพลงบอกรักหรือแสดงบุญคุณแม่พ่อ ก็มีแต่เพลงแยก •มีเพลงแม่ อย่าง ค่าน้ำน...