แสดงบทความที่มีป้ายกำกับ คำแต้มฅน แสดงบทความทั้งหมด
แสดงบทความที่มีป้ายกำกับ คำแต้มฅน แสดงบทความทั้งหมด

วันพุธที่ 21 มิถุนายน พ.ศ. 2566

ฅนมีคำแต่งแต้ม เหมือนและต่างกันไป iSi คำแต้มฅน


สบายดีครับ พบกับผม บุนทอน ดอนหอม

พบกันในรายการใหม่ "คำแต้มฅน"  
เป็นรายการที่จะนำเสนอมุมมองของผม บุญทอน 
ต่อคำพูดที่ได้ยินได้ฟังมา 
เพื่อสะท้อนความรู้สึกและความคิดอ่าน 
ว่าคำนี้ ความหมายอย่างนี้
เขามีอิทธิพลต่อความรู้สึกของผมอย่างไรบ้าง
เขามีฤทธิ์ต่อความคิดอ่านของผมในทางใด
และเขาจะส่งผลต่อการกระทำของเช่นไรหนอ

ตามที่รู้ ๆ กัน 
คำเป็นหน่วยทางภาษาเล็กที่สุด
ที่มีความหมายในการสื่อสารกันของคนเรา

ส่วนหน่วยทางภาษาที่เล็กสุดจริง ๆ 
แต่ยังไม่มีความหมายใด ๆ 
คือหน่วยเสียง ประกอบด้วยหน่วยย่อย 3 หน่วยคือ
หน่วยเสียงพยัญชนะ 
หน่วยเสียงสระ 
และหน่วยเสียงวรรณยุกต์

เมื่อหน่วยเสียงรวมกันเข้า 
ถูกเปล่งออกจากปากคนเรา 1 ครั้ง 
เรียกว่า หน่วยพยางค์

พยางค์บางพยางค์ก็เป็นคำด้วย
เพราะเปล่งออกมาแล้วมีความหมาย
ในการสื่อสารของคนเรา
ถือเป็นคำพยางค์เดียว
อันมีอยู่จำนวนมากในภาษาตระกูลไต
ในกลุ่มภาษาคำโดดอย่าง ลาว ไทย จีน...

คำมีทั้งคำพยางค์เดียว
คำสองพยางค์ คำสามพยางค์ และหลายพยางค์กว่า
รูปร่างหน้าตาเมืองใช้อักษรแทนภาษาพูด
จึงมีแตกต่างกันไปตามการประสมคำ
ตามที่มาของคำ

ที่มาของคำไทยมาจาก
1.คำไทยแท้ ก็เขียนสะกดตามตัว
2.คำไทยยืมจากบาลี-สันสกฤต 
ก็เขียนตามหลักตัวสะกดตัวตาม
ซึ่งอาจมีตัวอักษรเพิ่มจากที่ออกเสียง
มีตัวสะกดตัวตามตัวการันต์
3.คำไทยยืมจากภาษาเขมรโบราณ
ก็มีทั้งคำที่ใช้ รร (ร หัน) มีทั้งคำเต็มและกร่อนเสียง 
4.คำไทยยืมจากภาษาจีน อังกฤษ และอื่น ๆ
ก็มีวิธีออกเสียงและการเขียนเป็นตัวอักษรไทย
ที่หลากหลายไปตามภาษาเดิมนั้น ๆ

ถ้าวางภาษาเสียงไว้
หันมาใส่ใจภาษาอักษร
แล้วจะพบว่า
รูปร่างหน้าตาของคำนั้น
ย่อมเป็นไปตามการประสมคำว่ามีกี่ส่วน

3 ส่วนธรรมดา มีเสียง/รูปพยัญชนะต้น + สระ + วรรณยุกต์
4 ส่วนธรรมดา มีเสียง/รูปพยัญชนะต้น + สระ + วรรณยุกต์ + พยัญชนะตัวสะกด
และยังมีการประสมอักษรของคำ 5 ส่วนขึ้นไปอีก มีตัวตาม ตัวตัวการันต์...

คำแต่ละคำจึงออกเสียงต่างกันไป
จึงเขียนเป็นตัวอักษรแตกต่างกันไป
แต่ก็มีอยู่บ้างบางคำ
ที่ออกเสียงเหมือนกันแต่เขียนต่างกัน
ที่เขียนต่างกันแต่ออกเสียงเหมือนกัน

เมื่อพิจารณารูปอักษรของคำ และความหมายของคำนั้น 
คนเราเรียนรู้การออกเสียงคำและการเขียนคำได้เหมือน ๆ กัน
แต่เรื่องความหมายที่มากกว่าความหมายตามพจนานุกรมนั้น
คนเราอาจรับรู้ได้แตกต่างกันไป
ตามการสั่งสมไว้ด้วย 
การฟังเพลง ฟังผู้รู้ ฟังธรรมะ ฟังเรื่องราวหลากหลาย...
การอ่าน ซึมซับจากนิทาน เรื่องสั้น นิยาย นวนิยาย บทกวี วรรณกรร วรรณคดี...
การใช้พูด เขียนในวาระ โอกาส และรวมถึงในจินตนาการของตน ๆ

ความหมายของถ้อยคำ
ที่คนเรามีและถ่ายทอดออกไป
เพื่อสื่อสารกันนั้น 
จึงอาจทำให้เกิดความเข้าใจกันมากขึ้น
และหรืออาจก่อให้เกิดความเข้าใจผิดกันได้ด้วย
ขึ้นอยู่กับว่าผู้ส่งสารและผู้รับสาร
มีฐานความลึกซึ้งหรือมิติของความหมายของคำ
ใกล้เคียงกันหรือแตกต่างกันมากเกินไป

ความหมายของคำในตัวเราแต่ละคน
ที่มีไม่เท่ากันนี่แหละนี่ล่ะ
ที่ทำให้คนเราเกิดความรู้สึก ความคิดอ่าน
ที่แตกต่างกันออกไป

คำอาจนำความสุขและความทุกข์มาสู่ผู้ใช้ 
ก็ด้วยมันมีความหมายต่อใจแตกต่างกันไป
ยิ่งหากเราเผลอลืมไปว่า 
คำ ก็แค่ตัวแทนส่วนหนึ่งของความคิดอ่าน
ที่คนเราต่างต้องการสื่อสารกันในความหมายที่ตนมี
ที่ตนต้องการบอก ต้องการสื่อสาร 
ก็เท่านั้น 

อย่างไรก็ตาม
หากมองในแง่คนเราคือพื้นที่ทางศิลปะ
คำ ๆ หนึ่ง ทั้งรูปเสียง รูปลักษณ์อักษร 
และความหมายของมันที่เราหมายเอา ถือเอา
ก็อาจเปรียบเหมือนสีสัน
ที่จักแต่ง จักแต้มจิตใจคนเรา
ให้มีสีสันอย่างนั้น ๆ ตามมันไป

นี่คือสิ่งที่ รายการ "คำแต้มฅน"
อยากจะมาสื่อสาร
โดยยกคำ ๆ หนึ่ง มาคุยกัน ในแต่ละครั้ง ๆ ไป

เพื่อย้ำเตือนความเหมือน ความต่างของความหมายของคำ
ที่คนเรามีเหมือนต่างกันได้เป็นธรรมดา
และเพื่อย้ำเตือนว่า คนเรามีอิสระพอนะ
ที่จะไม่คกเป็นทาสความหมายของมัน

"คำใช้ฅนเป็นพื้นที่แต้มสีสันตามความหมายของมันได้ 
ฅนเราก็สามารถใช้คำเพื่อเพิ่มสีสันชีวิต
ให้โลกนี้สดสวยใสกระจ่างได้ด้วยเช่นกัน"

แล้วพบกับ "คำแต้มฅน" ครั้งไปครับ สวัสดี.











บทเพลง คึดได้ไปเป็น l บ่าวทิ ยางชุมน้อย

ว่าด้วยที่มาของบทเพลง "คึดได้ไปเป็น" •เกิดมาน้อยเท่าใหญ่ ฟังเพลงบอกรักหรือแสดงบุญคุณแม่พ่อ ก็มีแต่เพลงแยก •มีเพลงแม่ อย่าง ค่าน้ำน...