วันพุธที่ 30 มิถุนายน พ.ศ. 2564

ซาว ยี่สิบหรือยื่นคว้าดีหน่า?






[แปล โดย บ่าวทิ ทางหอม ณ ยางชุมน้อย]
#ฮอยคำ : เล่าคำ ทำมาหากิน

ซาว


คึดได้ไปเป็น  คึดได้ไปเป็น

"มีเงินจักซาวบ่?"  เคยได้ยินบ้างไหมเล่า
"ซาวหญ้าซาวยุงไปซันล่ะ!"  เคยเข้าใจอย่างไรหรือไม่ล่ะหนอ

ใช่แล้วครับ  ครั้งนี้ เรามาคิดอ่านจาก "ฮอยคำ"  /ซาว/ กัน

ซาว ถ้าเป็นคำนาม คือจำนวนนับ  หมายถึง ยี่สิบ (20)  เช่น  เงินซาวบาท หมายถึง เงินยี่สิบบาท  คนซาวคน  หมายถึง  คนจำนวนยี่สิบคน

คำ ซาว  นี้  ช่วยให้เราคุยกันง่ายขึ้น  ประหยัดเวลา  แทนที่จะบอก ยี่สิบ สองพยางค์  ก็บอกแค่ ซาว พยางค์เดียว จบ ประหยัดดี

อีกความหมายหนึ่ง  ซาว  หมายถึง  อาการยื่นมือไปเพื่อคว้าเอาสิ่งของ อะไรๆ เท่าที่จะเอามาได้  อาจจำเพาะเจาะจงหรือไม่ก็แล้วแต่  แต่ต้องเข้าข่าย  คว้ามาเพื่อช่วยให้ตนเองมี อยู่ได้ ปลอดภัย... เข้าลักษณะ มีอะไรก็คว้าเอาไว้ก่อน  ยกตัวอย่าง  "ตอนไฟดับ  ในความมืดนั้น  ข้าฯ ซาวหาไม้ขีดไฟมาจุดเทียน"   "ยื่นมือไปซาวผู้สาว  ระวังถูกจับปรับเสียค่าสินไหมนะ"

นอกจากนี้ คำ ซาว ยังมีเสียงไพเราะเสนะหู  ด้วยว่า เป็นเสียงเสียดแทรก  เวลาออกเสียงจะมีลมลอดช่องฟันของเราออกมา  เหมาะกับคำที่ให้ความรู้สึกเกี่ยวแก่อารมณ์ที่กรุ่นๆ ในใจ ยากที่จะเหือดหายไปง่ายๆ  ยกตัวอย่าง  "ซึมเซาซอดเซ่า" (ซึมเซาทั้งคืนจนถึงเช้าวันใหม่)  "มะซางโสกบ่ซวงเซา" (ทำไมถึงโศกเศร้าไม่สร่างหายสักที) "แสนซมซืนในซวงซาย" (สุดแสนจะชวนชมชื่นในทรวงชาย)

เอาเท่านี้ก่อน นะครับ พอหอมปากหอมคอ  ไว้พบกันใหม่
คิดได้ไปเป็น ๆ  รักษาสุขภาพกันดีๆ นะครับ.


ที่สุดของรัก

คลิก ฟังเพลงกันครับ ที่สุดของรัก  คือเห็นความงาม เป็นความจริงล้ำค่า ที่สุดของเข้าใจ คือแสงเช้าสาดต้องยอดยางนาต้นใหม่ เป็นความปรารถนาผ่องพริ้...