วันอังคารที่ 6 กรกฎาคม พ.ศ. 2564

ล่มสลาย




สลายรัก สลายร่าง มิขวางกั้น
ด้วยดื้อรั้น ดันทุเรศ เป็นเหตุใหญ่
ด้วยยอมตาม ลามโลภา ไม่น่าอภัย
จึงเหลวล้ม ก้มกำภัย  ขยายวง

ที่ชอบชื่น หมื่นทวี สีสันสร้าง
ที่บอบบาง ประจ่างใส กลับไสส่ง
ที่แท้จริง สิ่งสำคัญ ก็บั่นลง
ที่มั่นคง ส่งเสริมค่า กลับฆ่าทิ้ง

เปลืองเวลา เปลืองหัวใจ เปลืองใดหมด
ไม่เหลือยศ สง่างาม ความชายหญิง
แม้ทางเลือก เพศใดใด ยังท้วงติง
เหมือนถูกทิ้ง กลางสาธารณ์ ด่านสนธยา

ถึงจุดจบ คำรบล้าน กาลกำหนด
ตามตัวบท กระทำเหตุ สังเวชหนา
โอตัวตรม ล่มสลาย คล้ายเวลา
เลื่อนไหลเลย มิเฉยชา ไม่อาวรณ์ฯ

•บงก์บงค์
•อัง.6 ก.ค. 2564


ทรวงเหงา

เหงายามเช้า
ด้วยอยู่เดียวเดี่ยวโดด
ด้วยไน้คนคิดถึง
ด่วยำน้คนห่วงหา
ด้วยไร้คนนำพา
ด้วยไร้ที่หมาย
ด้วยไร้พลัง
ด้วยแสงเงินแสงทองกลายเป็นฝุ่นไฟและเถ้าถ่านและหมอกควัน

เหงายามสาย
ใครกันเล่าเคยเคียงข้าง
ใครกันนะเคยเป็นแรงใจ
ใครกันเคยพร้อมสู้
ใครหรือคล้ายดั่งเงา
ใครไม่รู้ไม่รู้ว่าเคยร้องเพลงกระซิบแผ่วข้างหู

เหงายามเที่ยง
โหยหิวความรัก
กระหายหิวความหวัง

เหงายามบ่าย
ยอมให้ความเหงาสบตา
ยอมให้ความเหงาสอนสั่ง
ยอมให้ความเหงาบรรจุบทเรียนในอารมณ์
ยอมให้ความเหงาทำโทษที่ไม่รู้จำ

เหงายามค่ำคืน
ทุกนาทียังเปล่าเปลี่ยว
ทุกนาทียังแห้งเหี่ยว
ทุกนาทียังโอดโอยโหยหา
ทุกนาทียังรำพันสุดพรรณนา
ทุกนาทียังเหว่ว้า


เหงาทุกยาม
ทวีเหงาลุกลาม
ปกคลุมและกดทับ
เหมือนภูเขาหมื่นลูก
เส้นหญ้าน้อยนี้
มิอาจขัดขืนและหลบเลี่ยงหนีหาย.

||ทางหอม|
อัง. 6 ก.ค. 2564

วันเสาร์ที่ 3 กรกฎาคม พ.ศ. 2564

นิยายฮัก


นิยายรัก

แรกพบเหมือนรู้จักกันมาเป็นพันปี
ดำดิ่งในรำลึก
ยิ่งนานวันยิ่งผูกฝั้น
ใจคิดถึงกอดก่าย

วันนี้ วัยล่วงคล้อย
คือยามบ่ายหลังฝนซา
ของหัวใจดวงน้อยหลายแสนร้อยบาดแผล...

||ทางหอม|
























วันพุธที่ 30 มิถุนายน พ.ศ. 2564

ซาว ยี่สิบหรือยื่นคว้าดีหน่า?






[แปล โดย บ่าวทิ ทางหอม ณ ยางชุมน้อย]
#ฮอยคำ : เล่าคำ ทำมาหากิน

ซาว


คึดได้ไปเป็น  คึดได้ไปเป็น

"มีเงินจักซาวบ่?"  เคยได้ยินบ้างไหมเล่า
"ซาวหญ้าซาวยุงไปซันล่ะ!"  เคยเข้าใจอย่างไรหรือไม่ล่ะหนอ

ใช่แล้วครับ  ครั้งนี้ เรามาคิดอ่านจาก "ฮอยคำ"  /ซาว/ กัน

ซาว ถ้าเป็นคำนาม คือจำนวนนับ  หมายถึง ยี่สิบ (20)  เช่น  เงินซาวบาท หมายถึง เงินยี่สิบบาท  คนซาวคน  หมายถึง  คนจำนวนยี่สิบคน

คำ ซาว  นี้  ช่วยให้เราคุยกันง่ายขึ้น  ประหยัดเวลา  แทนที่จะบอก ยี่สิบ สองพยางค์  ก็บอกแค่ ซาว พยางค์เดียว จบ ประหยัดดี

อีกความหมายหนึ่ง  ซาว  หมายถึง  อาการยื่นมือไปเพื่อคว้าเอาสิ่งของ อะไรๆ เท่าที่จะเอามาได้  อาจจำเพาะเจาะจงหรือไม่ก็แล้วแต่  แต่ต้องเข้าข่าย  คว้ามาเพื่อช่วยให้ตนเองมี อยู่ได้ ปลอดภัย... เข้าลักษณะ มีอะไรก็คว้าเอาไว้ก่อน  ยกตัวอย่าง  "ตอนไฟดับ  ในความมืดนั้น  ข้าฯ ซาวหาไม้ขีดไฟมาจุดเทียน"   "ยื่นมือไปซาวผู้สาว  ระวังถูกจับปรับเสียค่าสินไหมนะ"

นอกจากนี้ คำ ซาว ยังมีเสียงไพเราะเสนะหู  ด้วยว่า เป็นเสียงเสียดแทรก  เวลาออกเสียงจะมีลมลอดช่องฟันของเราออกมา  เหมาะกับคำที่ให้ความรู้สึกเกี่ยวแก่อารมณ์ที่กรุ่นๆ ในใจ ยากที่จะเหือดหายไปง่ายๆ  ยกตัวอย่าง  "ซึมเซาซอดเซ่า" (ซึมเซาทั้งคืนจนถึงเช้าวันใหม่)  "มะซางโสกบ่ซวงเซา" (ทำไมถึงโศกเศร้าไม่สร่างหายสักที) "แสนซมซืนในซวงซาย" (สุดแสนจะชวนชมชื่นในทรวงชาย)

เอาเท่านี้ก่อน นะครับ พอหอมปากหอมคอ  ไว้พบกันใหม่
คิดได้ไปเป็น ๆ  รักษาสุขภาพกันดีๆ นะครับ.


วันเสาร์ที่ 26 มิถุนายน พ.ศ. 2564

ก ทำไมจึงมาก่อนอักษรตัวอื่น • หนังหาน่าฮัก

-----

อักษรไทย อักษรลาว อักษรธรรม  ต่างเริ่มที่ตัว ก
ทำไมไม่เอาตัวอื่น เช่น ข น พ ร ส... เรียงขึ้นก่อน

คำตอบตามความคิดอ่าน แต่ละคน อาจต่างกัน
ตามความคิดอ่าน รสนิยม ประสบการณ์ อันต่างมี...

แต่หากกลับไปทวนความเป็นมา
อักษรในแถบอาเซียน พม่า ลาว ไทย
ล้วนรับอิทธิพลมาจากอินเดีย

ว่าถึงภาษาบาลี-สันสกฤต ที่ไทย ลาว รับมา
หมวดวรรคอักษรที่เราเรียนกัน ก็เริ่มที่วรรค ก
"กะ ขะ คะ ฆะ งะ"

นี่อาจเป็นคำตอบของคำถามที่จั่วไว้ข้างต้น

'ฅนคำแต้ม' เห็นว่า การลอกเลียน รับภาษามาใช้
รับมาแปลงปรับลับเหลี่ยมคม จะได้ง่าย
โดยเฉพาะง่ายต่อการแปล โดยเฉพาะคัมภีร์ทางศาสนา
อย่าง "พระไตรปิฎก" เป็นปฐม

ทีนี้ลองหันมาดูเหตุผลอื่นบ้าง 
ที่ ก มาก่อนนี้ อาจเพราะ คนอินเดีย
และคนอาเซียน คิดคำแรก โดยอาศัยเสียงตัว ก /k/ เป็นตัวเริ่มต้น

มาลองดูกันว่า มีคำใดบ้าง ที่มี ก เป็นพยัญชนะต้น
ที่แปลว่าเริ่มต้น หรือ แรกเริ่ม  หรือ อะไรทำนองนี้

คำแรก "ก่อน"  คำนี้ ความหมายชัดเจนในตัวแท้เชียว
แปลว่า มาอันดับแรกสุด เรียกว่า มา 'ก่อน' ใคร

คำสอง "เกริ่น" คำนี้ หมายความถึง การกล่าวนำ 
กล่าวเป็นพื้น ก็เข้าทาง "นำ" เช่นกัน

'ฅนคำแต้ม' ขอจบล่ะ ไว้พบกันใหม่เดอ
ก ก่ายกองๆ ร่ำรวยๆ กันครับ

ก ก่ายกอง



วันศุกร์ที่ 25 มิถุนายน พ.ศ. 2564

บ่มีมากมาย


คีงบางพร้อมลมหายใจ
แม่พ่อพร้อมพี่น้อง
นาข้าวและไร่หอม
เสียงลำและเพลงทุ่ง
รักร้างและผะหยาคิดฮอด

บ่มีมากมาย ดอกเดนางเอย

||ทางหอม|


🌜เชิญแวะไปชมแบบคลิปวีดิโอ .MP4
YouTube/บ่าวทิยางชุมน้อยเดอ 🌝



🌜ชวนแวะไปทัศนาแบบ.MP3
Blockdit/ทางหอม 🌝














วันศุกร์ที่ 18 มิถุนายน พ.ศ. 2564

ความสูน


อยากบ่ได้กิน
ง่วงบ่ได้นอน
มีขาบ่ได้ย่าง
มีช่างบ่ได้สร้างแปลง
มีแสงเสียเปล่าบ่มีแนวตาก

นับหนึ่งถึงล้าน
ความคึดหายบ่
ความสูนหายหรือใด?

||ทางหอม|
18.06.2021




































บทเพลง คึดได้ไปเป็น l บ่าวทิ ยางชุมน้อย

ว่าด้วยที่มาของบทเพลง "คึดได้ไปเป็น" •เกิดมาน้อยเท่าใหญ่ ฟังเพลงบอกรักหรือแสดงบุญคุณแม่พ่อ ก็มีแต่เพลงแยก •มีเพลงแม่ อย่าง ค่าน้ำน...